วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2548

โครงสร้าง กรมปศุสัตว์

วันนี้ไม่มีอะไร เพิ่งคุยโครงสร้างกรมปศุสัตว์ ว่าเทียบเท่ากระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

กรมปศุสัตว์ เทียบเท่ากับ กระทรวงสาธารณสุข

สำนักงานเลขานุการกรม กองการเจ้าหน้าที่ กองนิติการ กองคลัง เทียบเท่ากับ สำนักงานปลัดกระทรวงและส่วนราชการภาระกิจอย่างเดียวกันที่ประจำอยู่แต่ละกรม

สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ เทียบเท่ากับ กรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์

สำนักตรวจสอบสินค้าปศุสัตว์ เทียบเท่ากับ สำนักงานคณะกรรมอาหารและยาและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ เทียบเท่ากับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์(สถาบันสุขภาพแห่งชาติ)

สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์(ราชการ) เทียบเท่ากับ องค์การเภสัชกรรม(รัฐวิสาหกิจ)

สำนักพัฒนาการปศุสัตว์และถ่ายทอดเทคโนโลยี และ สำนักเทคโนโลยีชีวภาพปศุสัตว์ น่าจะเทียบเท่ากับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมสุขภาพจิต สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานจัดระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์เฉพาะทาง เป็นงานด้านการสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพ


สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ เทียบเท่ากับ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข สถาบันพระบรมราชชนก เพราะดูแลด้านการวิจัยระบบ

สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย ๑-๙ เทียบเท่ากับ โรงพยาบาลศูนย์ และเขตแต่ละเขตที่ประจำแต่ละกรม

ปศุสัตว์จังหวัด เทียบเท่ากับ สาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลทั่วไป/ชุมชน

ปศุสัตว์อำเภอ เทียบเท่ากับ สาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย/ศูนย์สุขภาพชุมชน


จะเห็นว่า ภาระกิจในการดูแลสุขภาพสัตว์ทั้งประเทศของไทยยังไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก เพราะภาระกิจที่ใกล้เคียงกัน ในเรื่องสุขภาพของคนจะให้ความสำคัญกว่ามาก แต่ในความเห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า เห็นว่า ตามนโยบายของรัฐบาล เรื่องอาหารปลอดภัย นั้นต้องเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพทั้งระบบ ตั้งแต่สัตว์จนถึงคน ดังนั้นน่าจะแยก ทบวงการสุขภาพสัตว์(Animal Health Affair) ขึ้นมาทำน่าที่ในการดูแลด้านสุขภาพของสัตว์ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ และสัตว์ป่า ทั้งนี้ไม่รวมงานด้านการส่งเสริมการเลี้ยง ไปอยู่ในอีกกลุ่มภาระกิจหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เป็นภาระกิจในกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งควรส่งเสริมทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงและปรับปรุงพันธุ์สัตว์
ทั้งนี้ทบวงการสุขภาพสัตว์จะอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขหรือกระทรวงเกษตร ก็ได้ แล้วแต่มุมมอง เพราะหากอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จะทำให้การประสานเรื่องการควบคุมโรคระบาดทั้งโรคที่ติดต่อระหว่างสัตว์และคน มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่หากอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรจะทำให้การประสานงานที่เกี่ยวกับฟาร์มมีความคล่องตัวมากยิ่ง
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงสรุปว่าได้ว่า หากต้องการควบคุมโรคระบาดให้ประเทศไทยเป็นเขตปลอดโรคระบาดในสัตว์ที่เทียบเท่านานาชาติ จำเป็นต้องมีการแยกภาระกิจด้านสุขภาพออกจากภารกิจด้านการางเสริมการเลี้ยงออกมาอย่างชัดเจน โดยมีฐานะไม่ต่ำไปกว่ากรม โดยอาจจัดตั้งเป็นทบวงการสุขภาพสัตว์ โดยทำหน้าที่เทียบเท่ากระทรวงสาธารณสุขที่ดูแลเกี่ยวกับสัตว์

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2548

start

ทดสอบ test