วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ความเงียบเหงา

[u][color=red][size=24][/size][/color][/u]
เมื่อคืน เกิดความรู้สึกว่า อยากจะเขียนอะไร เล่าให้เพื่อน พี่ ฟัง บ้างครับ
เรื่องมันก็คือความเงียบเหงาครับ
ทุกคนคงรู้จักความเงียบเหงากันนะครับบางทีมันอาจมาเยี่ยมทุกคน บ่อยบ้าง เป็นประจำบ้าง ซึ่งก็แตกต่างกันไป
ความเงียบเหงา ต่างจากความเหงาธรรมดา นะครับเพราะมันจะมีอาการ [color=darkred][u]"เงียบ" [/u][/color] เป็นอาการสำคัญ
บางคนบอกว่า ก็เคยเจอ ความเงียบเหงา มาบ่อยแล้ว แต่อยากจะถามว่า

เคยไหมครับ ที่ใช้ชีวิต อยู่ในบ้าน ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิต อยู่เลย นอกจากตัวคุณเอง
เพื่อนบ้าน ก็ไม่มีใครอยู่ มันเป็นความรู้สึก คล้ายอยู่บนเกาะร้างเลยครับ
จนบางครั้ง อยากบอกว่าได้ยินเสียง หญ้างอก ครับ

เคยไหมคับ ที่ท่ามกลางผุ้คนมากมายกลับรู้สึกว่า ไม่มีใครสักคน ที่จะปรึกษา หรือแม้จะคุยด้วย
เมื่อความเงียบเหงารุมเร้า จนกระทั่งน้ำตาของใจต้องไหลลงออก ขณะที่เดินทางผ่าน ท่ามกลางผู้คนเหล่านั้น

เคยไหมคับ กับการเป็นผู้ที่เหลืออยู่ ในสภาพเดิม ๆ ที่มีแต่เราที่คุ้ยเคย
ก็มีคนที่บอกว่า คนที่จากไป จะได้เจออะไรที่ใหม่ ๆ และท้าทายกว่าเดิม
คงมีแต่คนที่เหลืออยู่เท่านั้น ที่อยู่กับสภาพเดิม ที่เดิม [color=darkred]แต่[/color] ไม่มีใครเหมือนที่เคยมี

เคยไหมครับกับการที่เพื่อน ๆ กลับแล้ว คุณก็อยู่คนเดียว และยังนอนไม่หลับ
เป็นเหมือนการสับสวิตช์ ความสนุก ความเฮฮา มาเป็น ความเงียบเหงา
มันต้องปรับใจและอารมณ์กันพอสมควรเหมือนกัน

เคยไหมครับ กับการที่โทรหาตัวเองเพราะต้องการคนคุยด้วย จนไม่รู้ว่าจะโทรหาใครดี
ทำให้ต้องโทรศัพท์หาตัวเอง คุยกับตัวเองทางโทรศัพท์เพียงเพราะว่า ไม่อยากอยู่คนเดียวเท่านั้น

เคยไหมครับกับการที่คุยกับเงาของคุณเอง หรือกับการคุยกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่คนปรับทุกข์ให้ฟัง ร้องเพลงให้ฟัง ร้องไห้ เล่าเรื่องที่อยากเล่าให้ฟัง


นี่เป็นตัวอย่างของความเงียบเหงา ครับมันเป็นความรู้สึกที่กัดกินใจมากเลยครับความเงียบเหงา ไม่เลือก เวลา หรือผู้คน

เคมีกับชีวิต

เรื่องนี้เป็นวิทยาทานสมัยมัธยมครับ
อาจารย์ท่านสอนไว้ว่า ปฏิกิริยาทางเคมีก็เหมือนกับชีวิตคน สารแต่ละตัว ก็เหมือนกับคน 1 คน
มีทั้งที่ชอบ (ขี้หน้า) กัน ไม่ทั้งไม่ชอบกัน (like disolve like)
โดยที่การชอบและไม่ชอบกันนั้น เป็นคุณสมบัติของสาร (แต่คนเราบางที่ก็ชอบหาคำตอบว่าทำไม)
หากสาร 2 สาร ต้องการมาเกิดเป็นสารประกอบร่วมกัน หรืออาจกล่าวได้ว่า ต้องการมีพันธะต่อกัน
จะต้องมีการคลายหรือปลดปล่อยพลังงานในช่วงแรก
ก็เหมือนกับคน 2 คน หากจะอยากรู้จักกัน ก็ต้องมีการคลายพลังหรือสลายกำแพงส่วนตัว ออกมา
เพื่อให้สามารถเข้าใกล้กันได้มากขึ้น
กลับมากล่าวที่สารเคมีต่อนะครับ พอโมเลกุล 2 โมเลกุล คลายพลังงานเพื่อเข้าใกล้กันแล้ว
ก็ถึงตอนที่ จะต้องใช้สร้างพลังงานพันธะ เพื่อยึด 2 โมเลกุลเข้าด้วยกัน
เช่นเดียวกับคน เมื่อกำแพงส่วนตัวสลายไปบ้างแล้ว ก็ต้องใช้ความพยายามที่จะสร้างสายสัมพันธ์
เพื่อยึดคน 2 คนเข้าด้วยกัน ซึ่งพลังงานที่ใช้ และความแข็งแรงของพันธะ จะแตกต่างกัน
โดยขึ้นอยู่กับ ชนิดของพลังงาน ฉันใด ความพยามและความแนบแน่นของสายสัมพันธ์
ก็ขึ้นอยู่กับ ชนิดของความสัมพันธ์ (คนรู้จัก คนคบหา เพื่อนทั่วไป เพื่อนสนืท เพื่อนรัก และรักเพื่อน อิอิอิ ) ฉันนั้น
ดังนั้นในการคบหากัน ก็ต้องมีทั้งการคายพลังงานและใช้พลังงาน
ซึ่งผลรวมทั้งหมดจะเป็นคายหรือใช้พลังงานงานก็ขึ้นอยู่กับว่าการใช้พลังงานในขึ้นตอนใดจะมากกว่ากัน
ก็เช่นเดียวกับคนเรา ที่ บางคน ต้องใช้ความพยายาม อย่างมาก ที่จะคบหาใครสักคน
แต่บางคนกลับง่ายดายเสียเหลือเกินที่จะรักกัน
(ก็ มีใจให้กันอยู่แล้ว แค่คายพลังงานนิดหน่อยก็สร้างพันธะได้อยู่แล้ว)
คนเราก็มีทั้งที่เป็นแบบเฉื่อยชา (inert) หรือ ว่องไว (active) เช่นเดียวกับสารเคมี

อืมมม แล้วคุณละ สร้างพันธะกับแบบไหน ดูดหรือคายพลังงาน
(ส่วนผมคงเป็นธาตุจากต่างดาว คงไม่มีสารประกอบในโลกนี้สำหรับผมแน่ ๆ)