วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ระหว่าง Regulators และ Evaluators

เเละเเล้วเวลาก็ผ่านไปถึง 3 ปีแล้ว การทำงานที่ หน่วยงานด้านการกำกับดูแลมีทั้งความสนุกและท้าทาย ดี
ซึ่งเวลาที่ผ่านมาก็ทำให้ได้เรียนรู้ระบบการกำกับดูแลของต่างประเทศ

ตอนนี้กระแสภายในหน่วยงานต้องการให้เจ้าหน้าที่ภายในทำหน้าที่ เป็น Evaluators หรือเรียกแบบน่ารัก ๆๆ ว่า ผู้ประเมินภายใน หรือที่เรียกเเบเคร่งขรึมว่า นักวิชาการ เปลี่ยนบทบาทจากการเป็น นักไปรษณีย์ทะเบียนตำรับ

ซึ่งผมก็ว่าดีนะ เพราะแนวโน้มในต่างประเทฝสก็จำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ผู้กำกับดูแลทำงานด้านวิชาการมากขึ้น

แต่ใช่ว่าผมจะเห็นด้วยเสียทั้งหมด เพราะในบรรดางานวิชาการที่เกี่ยวข้อง นอกจากจะมีวิชาการด้านเทคนิค ซึ่งจะต้องมีการประเมินความน่าเชื่อถือ (Evaluations) ด้วยผู้ประเมิน (Evaluators) งานวิชาการอีกด้านหนึ่งคือ วิชาการการกำกับดูแล (Regulations) ซึ่งดำเนินการโดย ( Regulators) ซึ่งการเป็น Regulator ที่ดี จำเป็นต้องมีทั้งรู้ที่หลากหลาย ในเชิงกว้าง ที่ครอบคลุม วิชาการเฉพาะด้านผลิตภัณฑ์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ กฏหมายยา เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น

ดังนั้นผมเห็นว่า สำหรับประเทศไทย อาจจำเป็นต้องแยกบทบาทการเป็น Regulator ออกจากการเป็น Evaluator ให้มีความชัดเจน เพราะไม่สามารถเป็นบุคคลคนเดียวกันได้ อีกทั้งความชำนาญ ของทั้งสองแขนงนี้ ก็มีความชำนาญเฉพาะด้านในลักษณะที่ต่างกันอยากแก่การเปรียบเทียบ (ไม่ใช่ว่า Regulator เก่งว่า หรือสำคัญกว่า Evaluator หรือ Evaluator เก่งกว่า Evaluator) แต่การทำงานของบทบาทหน้าที่ทั้ง 2 ด้านนี้ จะต้องมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน และเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน หากใครทำหน้าที่ไม่ดี ก็ย่อมมีผลกระทบต่อระบบการคุ้มครองผู้บริโภคทังสิ้น

แต่การแยกบทบาทให้ชัดเจนนี้ จะแยกโดยการเป็นหน่วยงานภายในหรือ หน่วยงานภายนอก นี้ คงจะต้องเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่จะต้องมีการศึกษาและวิเคราะห์ให้รอบคอบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งถ้ามีโอกาส จะมาเล่าความคิดความเห็นของผมให้ฟังอีกครั้งนะครับ