วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรื่องเล่า "โดยอนุโลม" (Mutatis mutandis)


      เรื่องมันมีอยู่ว่า หน่วยงานที่ผมทำงานอยู่ ประกาศออก หลักเกณฑ์ ออกมาฉบับหนึ่ง ในรายละเอียดของประกาศดังกล่าว มีข้อหนึ่ง กำหนดไว้ประมาณว่า "กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์นี้ ให้ใช้หลักเกณฑ์นี้โดยอนุโลม"
     ในการอ่านทำความเข้าใจครั้งแรก ผมมีคำถาม ในใจว่า  ก็ไม่เข้าตามหลักเกณฑ์  จะอนุโลมใช้หลักเกณฑ์ได้อย่างไร แล้วจะมีหลักการของการอนุโลมอย่างไร  !?)@)@##!#!@@@   .....  หลังจากอ่านไปสักพัก ผมก็รำพึงกับตัวเองว่า คงต้องหาแนวทางและหลักวิชาการที่จะใช้ตีความและบังคับใช้หลักเกณฑ์ในกรณีที่ต้องอนุโลมหลักเกณฑ์ ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร
     รายละเอียดที่ได้ศึกษาค้นคว้ามามีดังนี้ ครับ

1. ข้อมูลใน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ จาก http://www.royin.go.th/ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 ได้ให้ความหมายของคำว่าอนุโลม ไว้ว่า
   
อนุโลม
ก. ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม; (กฎ) นำมาใช้
โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้
ตามควรแก่กรณี. ว. ตามลําดับ เช่น ท่องแบบอนุโลม, คู่กับ
ปฏิโลม คือ ย้อนลําดับ. (ป., ส.).

2. ในบริบททางกฎหมายปกครอง กล่าวว่า การอนุโลม หรือ Mutatis mutandis  จำแนกออก เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
        2.1 การอนุโลมบทบัญญัติอื่นในกฎหมายฉบับเดียวกัน
        2.2 การอนุโลมบทบัญญัติในกฎหมายฉบับอื่น
   ทั้งนี้หากมีความสนใจเพิ่มเติม ก็หาอ่านได้จาก ข้อมูลโดย หลักกฎหมายปกครองวันละเรื่อง fanpage จาก facebook   และจาก ข้อมูลโดยนางสาวดวงเด่น นาคสีหราช จาก gotoknow   ได้นะครับ


      ตามข้อมูลข้างต้นทำให้ผมได้หลักคิด พอที่จะดำเนินการ อนุโลมหลักเกณฑ์ ได้ดังนี้

(ก)   การอนุโลม หลักเกณฑ์ ครั้งนี้ เป็นการอนุโลมบทบัญญัติ  ภายในกฎหมายฉบับเดียวกัน จึงไม่มีปัญหาในการตีความเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของการใช้หลักเกณฑ์ ดังกล่าว

(ข) การอนุโลม  จำเป็น ต้องพิจารณาถึงหลักการของหลักเกณฑ์ ในแต่ละข้อ ก่อนว่า  มีหลักการอย่างไร ในการกำหนดเงื่อนไข และเอกสารที่ต้องใช้

(ค) เมื่อเข้าใจหลักการแล้ว จึงจะพิจารณา ข้อเท็จจริง ว่า จะต้องปรับ หรือ แสดงเอกสาร อะไร เพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่กำหนดไว้

ดังนั้น ข้อสำคัญ ในการอนุโลม ใช้หลักเกณฑ์  ก็คือ  ความสามารถในการเข้าใจ "หลักการ" ของหลักเกณฑ์แต่ละข้อ  โดยหากการเข้าใจในหลักการไม่เท่าเที่ยมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความลึกซึ้งหรือกว้างขวางของหลักการ ก็อาจเป็นผลให้การวินิจฉัยการอนุโลมของพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ละรายไม่เท่ากันได้ ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ควรที่บันทึกรายละเอียดของการอนุโลมแต่ละครั้งไว้ในการอนุญาตด้วยเช่นกัน
แต่อย่างน้อย จากการค้นคว้าครั้งนี้ ผมก็ ได้ แนวทางในการอนุโลมหลักเกณฑ์ ที่ ผม จะดำเนินงานแล้วนะครับ : D