วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การนำเครื่องมือด้านคุณภาพมาใช้ในการปรับลดกระบวนงาน

บทความนี่ผมนำมาจากส่วนหนึ่งของอีเมล์ ที่สนทนากันเรื่องการนำเครื่องมือทางด้านคุณภาพมาใช้ในการปรับลดกระบวนงาน ซึ่งผมเห็นว่า น่ารวบรวมไว้ศึกษา 


1 ความเหมาะสมกับการนำ Kaizen มาประยุกต์กับ การบริหารจัดการภาครัฐที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแล กล่าวคือ
          1.1 Kaizen เป็นหลักการที่นิยมนำมาใช้มาในอุตสาหกรรมการผลิต  ที่มุ่งเน้นการลดความสูญเสีย และให้ได้ผลผลิตมากที่สุด และเมื่อได้ผลผลิตจำนวนมาก ย่อมหมายถึงโอกาสทำกำไรของธุรกิจ และสะท้อนกลับมาเป็นโบนัสของพนังานทางอ้อม
         1.2 ในทางกลับกัน หน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล มีลูกค้าที่สำคัญคือ ประชาชน   ผลกำไรหรือผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานภาครัฐ ไม่ได้ คำนวณกลับมาในรูปของตัวเงิน และไม่ได้สะท้อนกลับมายังหน่วยงานโดยตรง  แต่จะสะท้อนกลับมาในลักษณะของ Social impact เช่น ความสุขอนามัยที่ดีของประชาชน หรือ อัตราการป่วยตายลดลง เป็นต้น 
  • แม้ว่ามีรายงานว่าสามารถนำ Kaizen มาประยุกต์ใช้กับงานโรงพยาบาล หรือภาครัฐ แต่ไม่มีตัวอย่างชัดเจน โดยส่วนตัวผมเข้าใจว่า น่าจะใช้กับอุตสาหกรรมบริการ หรือหน่วยงานรัฐมี่มีหน้าที่ผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ เช่น โรงพยาบาล นำ Kaizenไปใช้กับกระบวนงานตั้งแต่ ผู้ป่วยลงทะเบียนจนกระทั่งรับยา เป็นต้น (ผู้ป่วยพอใจ ก็มา รพ. นี้มากขึ้น  เงินเข้า รพ. ก็มากขึ้น)
       1.3 ที่ผ่านมา หลักการส่วนหนึ่งของ Kaizen  ที่เรียกว่า 5S ได้มีการนำมาใช้ในภาครัฐ ในชื่อว่า กิจกรรม 5 ส. (ดูได้จากสไลด์ที่ 36)  แต่ความสำเร็จของการนำมาใช้กับหน่วยงานของเรา ก็ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
        1.4 การขึ้นทะเบียนตำรับยา ไม่ใช่กระบวนการที่สามารถเทียบเคียงได้กับกระบวนการในอุตสหกรรมการผลิต เนื่องจาก ไม่ใช่กระบวนการผลิต "ใบสำคัญ"  การตรวจสอบคุณภาพของของกระบวนการ ก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  เพราะกระบวนการผลิตที่ดีย่อมทำให้ได้ผลิตภัณฑ์โดยมีคุณภาพตาม spec ที่กำหนด  แต่ กระบวนการขึ้นทะเบียนที่ดี คือ การรับขึ้นทะเบียนยาที่มีคุณภาพ ความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และการสื่อสารความเสี่ยงต่างๆ ไปสู่ประชาชนอย่างเหมาะสม และไม่มีการรับขึ้นทะเบียนตำรับยาที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรืออาจเป็นอันตรายต่อประชาชน 
ซึ่งการวัดคุณภาพของการขึ้นทะเบียนตำรับยาไม่สามารถวัดได้โดยทันที และยังจำเป็นต้องมีกระบวนการทบทวน ยกเลิก เพิกถอนทะเบียนตำรับ เพื่อควบคุมกระบวนการให้ดีได้  ยกตัวอย่างเช่น เมื่อได้รับยา ก็ควรหายหรือบรรเทาจากอาการป่วย แต่ อีก 10 ปี 20 ปี ข้างหน้าไม่ควรเป็นมะเร็งจากยาที่ได้รับเช่นกัน เหมือนกรณี thalidomide เป็นต้น 
     1.5  การนำเครื่องมือ (tools) ทางการบริหารธุรกิจ มาใช้กับการบริหารภาครัฐ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบริบทของภาครัฐ โดยคำนึงผลสัมฤทธิ์และประชาชนผู้ใช้ยาเป็นสำคัญ (ไม่ใช่ธุรกิจ หรือผลกำไร) ซึ่งแต่ละเครื่องมือเช่น PMQA ต่างก็ใช้เวลาผ่านเวทีการอภิปรายของนักบริหารภาครัฐ กว่าจะได้ tools มาใช้สำหรับภาครัฐ
     1.6  หลักการหนึ่งของ Kaizen คือ  Increased labor responsibilities ในประเด็นนี้ ผมเกรงว่าจะทำให้รู้สึกว่าเป็นการเพิ่มภาระแก่เจ้าหน้าที่ จนทำให้เกิดความกดดันในการทำงาน (งานมากขึ้น คนเท่าเดิม คำขอต้องเร็วขึ้น ทุกอย่างต้องตรวจสอบได้ตาม SOP  งานแทรกก็เยอะพวกงานชี้แจง สรุปข้อมูล แผนงบก็ต้องทำ)

2 ความเร่งรีบในการปรับปรุกระบวนงาน ซึ่ง เจ้าของกระบวนงานเอง ยังไม่ได้มีความเข้าใจเคร่ืองมืออย่างลึกซึ้ง และเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ภายในระยะเวลาแค่ ไม่กี่เดือน  (ขนาด 5ส. ทำมาหลายปี ก็ไม่เข้าใจและทำไม่ได้ซะที ครับ)
 มีความเสี่ยงที่จะทำให้ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมกับบริบทของงาน และทำให้การแก้ไขหรือปรักระบวนงานนั้นไม่ถูกวิธี หรือไม่ถูกทิศทาง แทนที่จะแก้ปัญหาอาจสร้างปัญหาใหม่เกิดขึ้นก็ได้ 

ทั้งนี้ในหลักการ ผมเห็นด้วย ที่จะมีการ ปรับปรุงกระบวนการขึ้นทะเบียนตำรับยา  และ ไม่ปฏิเสธการนำเครื่องมือทางการบริหาร มาประยุกต์ใช้ แต่การประยุกต์ใช้จำเป็นต้องใช้อย่างรู้จักเครื่องมือ ตามหลักวิชาการบริหารภาครัฐ ไม่เห็นด้วยที่จะมุ่งปรับปรุกระบวนการให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์แต่อย่างเดียว ประชาชนควรได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงกระบวนการด้วย รวมถึงเจ้าหน้าที่ก็ควรได้รับประโยชน์จากการปรับปรุกระบวนงานให้มีหลักประกันความเป็นอิสระและเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ (สามารถทำงานได้เต็มความสามารถและไม่มีแรงกดดันหรือแทรกแซงทางการเมือง) ซึ่งกระบวนงานก็ต้องคุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าโดยสุจริตด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่า การปรับปรุงกระบวนงานของ US Agency มุ่งปรับปรุงทั้งด้าน the quality (ประชาชนได้ประโยชน์) , transparency (หลักประกันการถูกการเมืองแทรกแซงและป้องกันการทุจริต)  and speed (ผู้ประกอบการได้ประโยชน์) of government processes. และมีเครื่องมือที่หลากหลาย ซึ่งเป็นการกระชับเพิ่มความคล่องตัว โดยไม่ลดคุณภาพการทำงาน  (น่าจะดี หากเปลี่ยนจาก reprocess เป็น Lean process ??) 
 [อ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Lean_Government ]  

ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมก็เข้าใจว่า การประชุมที่จะจัดที่ราชบุรี นั้นเป็นภาระกิจสำคัญที่จะต้องดำเนินการ ตามนโยบายของฝ่ายบริหารระดับสูง ไม่สามารถหลีกหรือเลี่ยงได้ ซึ่งฝ่ายบริหารก็เร่งรัดผลการดำเนินการมาด้วย  ก็เห็นใจ กลุ่มพัฒน์ฯ ด้วยเช่นกัน ในการดำเนินการดังกล่าว ดังนั้นหากผู้บริหารพิจารณาแล้วมีมติให้ดำเนินการอย่างใด ผมเองในฐานะเจ้าหน้าที่ก็ต้องปฏิบัติตามมติเช่นกันครับผม

และท้ายที่สุดผมต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย หากความเห็นของผมข้างต้น ไม่สอดคล้องกับแนวดำเนินการของหน่วยงาน ครับ  และอีกประการหนึ่งผมต้องขออภัยหากความเห็นของผมคลาดเคลื่อนจากหลักวิชาการ เพราะยอมรับว่าผมอาจเข้าใจไม่ถ่องแท้ก็ได้ครับ

ปล. เครื่องมือต่าง ๆ เช่น 5S QCC TQM SixSigma  เป็นเครื่องมือสมัยใหม่ที่น่าสนใจ ซึ่งแต่ละกลุ่มงาน น่าจะมีอิสระในการเลือกเครื่องมือเพื่อปรับปรุกระบวนงานของตนเอง แล้วนำไปทดลองใช้ภายในงาน แล้วจัดประกวดกัน ก่อนเลือกวิธีที่ดีที่สุดมาใช้เป็นกระบวนงานกลาง  (แนวทางนี้ ใช้เวลาปรับปรุงกระบวนการ ไม่ต่ำกว่าปี แต่มีข้อดี คือ ทุกคนมีส่วนร่วม น่าจะเกิดความยอมรับมากกว่า)  

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ระบบและรูปแบบการเขียนอ้างอิงในเอกสารทางวิชาการ

การอ้างอิงที่ดี คือ อ้างอิงให้ครบถ้วนและถูกต้องทั้งในเนื้อหาและท้ายเล่ม อ้างอิงในรูปแบบการเขียนเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร และ ไม่อ้างอิงในเอกสารที่ไม่เคยได้อ่านหรือไม่ได้ค้นคว้า

ในการเขียนเอกสารทางวิชาการนั้น ย่อมจะต้องมีการศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่ง ๆ ต่าง ๆ มากมายหลายแหล่ง และเมื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการเขียนเอกสารทางวิชาการของตน ผู้เขียนก็จะต้องให้ความเคารพ ไม่กล่าวถึงแหล่งข้อมูล หรือกระทำการที่มีลักษณะเป็นการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องมีการอ้างอิงข้อมูลที่นำมาประกอบการเขียนงานของตน โดยจะต้องอ้างอิงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้งานเขียนของตนเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ

    ระบบการอ้างอิง


ระบบการอ้างอิงในเอกสารวิชาการต่าง ๆ นั้นจะมีความแตกต่างหลายรูปแบบ แต่หากกล่าวสรุปรูปแบบตามลักษณะสำคัญ จะสามารถจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่มสำคัญ คือ


1  กลุ่มระบบ Parenthetical referencing  โดยมีลักษณะการอ้างอิงดังนี้


(1.1) การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง  (In-text citations) การอ้างอิงลักษณะนี้เป็นการอ้างอิงเข้าไปในเนื้อหา เพื่อบ่งบอกให้ทราบว่า ข้อความนั้นหรือเนื้อหาส่วนนั้น ได้มาจากการอ้างอิงหรือมีการกล่าวถึงในเอกสารหรือแหล่งที่มาใด โดยระบุข้อมูลอย่างย่อของเอกสารที่อ้างเข้าไปในเนื้อหา ในระดับบรรทัดเดียวกันกับข้อความ โดยนิยมใช้วงเล็บกลม (round brackets) 

(1.2) การอ้างอิงส่วนท้าย (Reference citations)  การอ้างอิงส่วนท้ายเป็นการรวมรวมและแสดงรายละเอียดของรายการเอกสารที่อ้างอิงไปแล้วในเนื้อเรื่องจะรวมรวมไว้ใน ซึ่งอาจอยู่ท้ายหน้า ท้ายบท หรือ ท้ายเล่ม ก็ได้และจะเรียงลำดับตามชื่อผู้แต่งและหากมีผู้แต่งคนเดียวกันมากกว่า 1 เล่มก็จะเรียงลำดับตาม ปีที่พิมพ์เผยแพร่ และบางกรณีการอ้างอิงส่วนท้าย ยังแสดงรายการเอกสารทางวิชาการที่น่าสนใจหรือเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน แต่ไม่ได้อ้างอิงในเนื้อหาโดยตรงด้วยก็ได้ ทำให้การอ้างอิงส่วนท้าย อาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ (ก) รายการเอกสารอ้างอิง (References)   (ข) รายการบรรณานุกรม (Bibliography) แต่อย่างไรก็ตามในบางสถาบัน หรือบางเอกสารวิชาการ อาจระบุไม่แยกเป็นบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิงก็ได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบกับเจ้าของวารสารก่อนการเขียน
       
กลุ่มระบบ Parenthetical referencing นี้มีรูปแบบ (style) การเขียนที่หลากหลาย ได้แก่  รูปแบบการเขียนของ APA , รูปแบบการเขียนของ MLA , รูปแบบการเขียนของ Chicaco , รูปแบบการเขียนของ Harvard  และ  รูปแบบการเขียนของ MHRA  เป็นต้น  จากลักษณะรูปแบบการเขียนนี้เองทำให้กลุ่มระบบ Parenthetical referencing  เป็นที่่รู้จักในชื่ออื่นเช่นการอ้างอิงแบบ Harvard referencing หรือ  Author-year system หรือ Author-date system เป็นต้น

2  กลุ่มระบบ Author-Number system  โดยมีลักษณะการอ้างอิงดังนี้


(2.1) การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง  (In-text citations) การอ้างอิงลักษณะนี้เป็นการอ้างอิงเข้าไปในเนื้อหา เพื่อบ่งบอกให้ทราบว่า ข้อความนั้นหรือเนื้อหาส่วนนั้น ได้มาจากการอ้างอิงหรือมีการกล่าวถึงในเอกสารหรือแหล่งที่มาใด โดยนิยมระบุตัวเลขเป็นอักษรตัวยก โดยอาจอยู่ในวงเล็บหรือไม่ก็ได้ แต่หากเป็นการระบุในบรรทัดระดับเดียวกันกับข้อความที่อ้าง ให้ระบุไว้ในวงเล็บ โดยวงเล็บที่ใช้ อาจใช้เป็นวงเล็บกลม (round brackets) , วงเล็บเหลี่ยม [square brackets] หรือ วงเล็บปีกกา {curl่y brackets} ก็ได้ ทั้งนี้ควรคำนึงว่าการใช้วงเล็บไม่ควรทำให้เกิดความสับสนให้แก่ผู้อ่านบทความนั้น 

(2.2) การอ้างอิงส่วนท้าย (Reference citations)  การอ้างอิงส่วนท้ายเป็นการรวมรวมและแสดงรายละเอียดของรายการเอกสารที่อ้างอิงไปแล้วในเนื้อเรื่องจะรวมรวมไว้ใน ซึ่งอาจอยู่ท้ายหน้า ท้ายบท หรือ ท้ายเล่ม ก็ได้และจะเรียงลำดับตัวเลขของการอ้างอิง และบางกรณีการอ้างอิงส่วนท้าย อาจจำแนกออกเป็นรายการเอกสารอ้างอิง (References)  และ รายการบรรณานุกรม (Bibliography) ก็ได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบกับเจ้าของวารสารก่อนการเขียน

ทั้งนี้กลุ่มระบบ Author-Number system  นี้อาจจำแนกตามลักษณะการอ้างอิงออกเป็น

ก    ระบบอ้างอิงแบบตัวเลข -ลำดับการอ้าง  (citation-sequence system) โดย ตัวเลขที่ใช้จะหมายถึง ลำดับที่ของการอ้างครั้งแรกของแหล่งข้อมูลนั้น โดยตัวเลขดังกล่าวจะอ้างอิงรายละเอียดไปยังรายการเอกสารอ้างอิงส่วนท้าย และ

ข    ระบบอ้างอิงแบบตัวเลข-นาม (citation-name system) โดย ตัวเลขจะใช้แทน ลำดับที่ของรายการเอกสารอ้างอิงส่วนท้าย ที่เรียงตามลำดับรายชื่อของผู้แต่ง

กลุ่มระบบ Author-Number system นี้มีรูปแบบ (style) การเขียนที่หลากหลายด้วยเช่นกัน ได้แก่  รูปแบบการเขียนของ Vancouver , รูปแบบการเขียนของ NLM และ รูปแบบการเขียนของ ACS เป็นต้น

   

รูปแบบการเขียนอ้างอิง


จากระบบการเขียนที่แตกต่างนั้น เกิดขึ้นมาจากการใช้วิธีการอ้างอิงที่แตกต่างกันตามการยอมรับของสาขาวิชาการ โดยรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่พบได้บ่อยได้รวบรวมไว้ในภาคผนวก 1 นอกจากรูปแบบการเขียนที่รวบรวมไว้แล้วนั้นยังมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงอื่น ๆ อีกมากมายที่หน่วยงานหรือเจ้าของวารสารกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่นการเขียนอ้างอิงสำหรับเอกสารวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็แตกต่างจากของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบกับหน่วยงานหรือเจ้าของวารสารเสียก่อนว่าใช้วิธีการเขียนอ้างอิงในรูปแบบใด ซึ่งเมื่อจำแนกรูปแบบการอ้างอิงตามสาขาวิชาการ จะจำแนกได้ดังนี้

สาขาวิชามนุษยศาสตร์ (Humanities)   รูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมได้แก่  
                   
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ CMOS (The Chicago Manual of Style) ซึ่งมีรูปแบบย่อยที่พัฒนาได้แก่ รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ Turabian 
                     
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ MLA (Modern Language Association) ซึงเป็นการเขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่องโดยใช้วิธี author-page method
                     
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ MHRA (Modern Humanities Research Association) ซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนที่นิยมในประเทศอังกฤษ มีลักษณะคล้าย แบบ MLA  แต่จะแสดงรายละเอียดเอกสารในส่วนท้ายหน้า
   
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตุได้ว่าในสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์นิยมใช้การอ้างอิงในส่วนท้าย เป็นแบบท้ายหน้า

สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (Social sciences)  รูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมได้แก่
                
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) ซึงเป็นการเขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่องโดยใช้วิธี author-year method ซึ่งมีรูปแบบย่อยที่พัฒนาได้แก่ รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ ASA (American Sociological Association) ซึ่งนิยมใช้การอ้า'อิงส่วนท้ายเป็นแบบท้ายหน้าคล้ายแบบ MLA
             
นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่พัฒนาไปจาก รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ CMOS ที่พบการใช้บ้างได้แก่ รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ APSA (American Political Science Association) และแบบ AAA (American Anthropological Association)

สาขาวิชากฎหมาย (Law)     รูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมได้แก่
                  
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ Bluebook  เป็นรูปแบบการเขียนที่นิยมใช้ในศาลยุติธรรมและคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา
                    
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ OSCOLA (Oxford Standard for Citation of Legal Authorities) เป็นรูปแบบการเขียนที่นิยมในสหราชอาณาจักร  

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์, คณฺิตศาสตร์ , วิศวกรรมศาสสตร์ , สรีรวิทยา และการแพทย์ (Sciences, mathematics, engineering, physiology, and medicine)    รูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมได้แก่
              
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ ACS (American Chemical Society) 
               
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ AIP (American Institute of Physics 
               
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ AMS (American Mathematical Society)
               
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)
               
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ Vancouver ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในวารสารทางการแพทย์ ปัจจุบันมีรูปแบบย่อยที่ได้พัฒนาจากรูปแบบ  Vancouver หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น
                  - NLM Style  (National library of Medicine) or Pubmed Style
                  - AMA Style (American Medical Association)
                  - NISO Style (the National Information Standards Organization)
                  - ASME Style (American Society of Mechanical Engineers)

ตัวอย่างรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่น่าสนใจ


จากข้อมูลข้างต้นจึงเห็นได้ว่ารูปแบบการเขียนอ้างอิงมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งอาจมีรูปแบบหลักที่เหมือนกัน แต่อาจแตกต่างที่การใช้เครื่องหมายวรรคตอน อักษรตัวหนา ตัวเอียง เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เห็นลักษณะการเขียนอ้างอิงที่แตกต่างกัน จึงขอยกตัวอย่างรูปแบบการเขียนที่น่าสนใจดังนี้

    รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ APA 


    ระบบนี้จัดทำโดย American Psychological Association (http://www.apastyle.org) นิยมใช้ในวงวิชาการด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ (Social and Behavioral Science) และรวมถึงสาขาวิชาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ จิตวิทยาการศึกษาอีกด้วย นอกจากนั้นระบบนี้ยังมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่าระบบนาม-ปี (name-year or author-date system) ซึ่งตัวอย่างวิธีการเขียนอ้างอิงนั้นสามารถศึกษาได้จาก รายละเอียดวิธีการเขียนอ้างอิงแบบ APA

    รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ MLA


    ระบบนี้จัดทำโดย Modern Language Association  (http://www.mla.org) นิยมใช้ในวงการภาษาศาสตร์ และหน่วยงานภาคการศึกษา  ซึ่งตัวอย่างวิธีการเขียนอ้างอิงสามารถศึกษาได้จาก รายละเอียดวิธีการเขียนอ้างอิงแบบ MLA และ  รายละเอียดเพิ่มเติม (แบบ MLA)

    รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ NLM


    ระบบนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความหลากหลายของรูปแบบการอ้างอิงในเอกสารทางการแพทย์ ทำให้เกิดความยากลำบากในการตรวจสอบเอกสารและความถูกต้องทางวิชาการ จึงทำให้มีการรวมกลุ่มของของวารสารทางการแพทย์และจัดตั้งเป็นคณะกรรมการระดับนานาชาติชื่อ “International Committee of Medical Journal Editors : ICMJE” และจัดการประชุมเพื่อกำหนดรูปแบบการอ้างอิงที่เป็นมาตรฐานเดียวกันขึ้น ในปี 1978 ที่นครแวนคูเวอร์ รัฐบริทิช โคลัมเบีย ประเทศคานาดา ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเขียนเอกสารอ้างอิง ซึ่งเรียกว่า “The Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals” หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Vancouver Style หลังจากนั้นก็มีการประชุมเพื่อปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ต่อมา ์National Library of Medicine ได้นำมาใช้สำหรับการอ้างอิงใน Medline และ Pubmed  ซึ่งตัวอย่างธีการเขียนอ้างอิงสามารถศึกษาได้จาก รายละเอียดวิธีการเขียนอ้างอิงแบบ NLM


    สรุป


    จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่ารูปแบบการเขียนอ้างอิงนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนั้นในฐานะนักวิชาการจึงจำเป็นต้องเลือกวิธีการเขียนที่เหมาะสมที่สุด รูปแบบการเขียนแบบหนึ่งที่วารสารหรือหน่วยงานหนึ่งยอมรับ อาจไม่ใช่วิธีการเขียนที่หน่วยงานอื่นยอมรับก็เป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ตามคุณภาพงานเขียนวิชาการ ก็ย่อมพิจารณาได้จากการวิธีการเขียนอ้างอิงได้อีกประการหนึ่ง โดยการเขียนอ้างอิงที่ดีจะมีลักษณะดังนี้
                            1. มีการอ้างอิงครบถ้วนและถูกต้องทั้งในเนื้อหาและส่วนท้าย 
                            2. รูปแบบการเขียนอ้างอิงเป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร
                            3. ไม่อ้างอิงในเอกสารที่ไม่เคยได้อ่านหรือไม่ได้ค้นคว้า


    เอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม


    1. Anglia Ruskin University. Harward system [Internet]. 2013 [cited 2014 Aug 10]. p. 4. Available from: http://libweb.anglia.ac.uk/referencing/files/QuickHarvardGuide2013Aug.pdf

    2. Bedford SM. Documenting sources : a Hacker handbooks supplement. [Internet]. Boston: Bedford/St. Martin’s; 2008 [cited 2014 Jul 14]. Available from: http://www.dianahacker.com/resdoc/pdf/Hacker-MLAupdates.pdf

    3. Cieplinski L, Kim M, Ohm J-R, Pickering M, Yamada A. ISO 690 : Information and documentation- Guideline for bibliographic references and citations to information resources. 2001 p. 48. 

    4. Faculty of Law University of Oxford. OSCOLA. 4th ed. 2012. 

    5. Garfield E. Citation indexes for science. A new dimension in documentation through association of ideas. Int J Epidemiol [Internet]. 2006 Oct 1 [cited 2014 Jul 29];35(5):1123–7; discussion 1127–8. Available from: http://ije.oxfordjournals.org/content/35/5/1123

    6. ICMJE. Recommendations for the Conduct, Reporting, Editing, and Publication of Scholarly Work in Medical Journals. 2013. 

    7. ICMJE. International Committee of Medical Journal Editors (ICMJE) Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals: Sample References [Internet]. United States National Library of Medicine; [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/bsd/uniform_requirements.html

    8. Iverson C, Christiansen S, Flanagin A, et al, Iverson C CS. AMA Manual of Style. New York City: Oxford University Press; 2007. 

    9. Iverson C, Christiansen S, Flanagin A, et al, Iverson C CS. About the AMA Manual of Style [Internet]. Oxford University Press; 2010 [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://www.amamanualofstyle.com/page/About/about

    10. James Madison University Libraries. AMA style [Internet]. 2012 [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://www.lib.jmu.edu/citation/amaguide.pdf

    11. Libraries of University of Victoria. MLA Style Guide. 2012 p. 1–7. 

    12. Library of the University of Sydney. YOUR GUIDE TO HARVARD STYLE REFERENCING. 2010 p. 15. 

    13. MRHA. MHRA [Internet]. [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://www.mhra.org.uk/Publications/Books/StyleGuide/StyleGuideV3_1.pdf

    14. National Information Standards Organization. ANS/NISO Z39.29-2005 : Bibliographic References. 2005. 

    15. Patrias K. Citing Medicine: The NLM Style Guide for Authors, Editors, and Publishers [Internet]. 2nd ed. Wendling D, editor. Bethesda, Maryland, USA: United States National Library of Medicine; 2007 [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/citingmedicine

    16. University of Chicago. Law (Maroon Book) [Internet]. [cited 2014 Aug 11]. Available from: http://lawreview.uchicago.edu/sites/lawreview.uchicago.edu/files/uploads/v82MB.pdf

    17. University of Western Sydney Library. American Psychological Association ( APA ) Referencing Style Guide. 2013 p. 15. 

    18. University of Western Sydney Library. Chicago Referencing Style Guide. 2013 p. 11. 

    19. Wikipedia. Vancouver_system [Internet]. Wikimedia Foundation; 2014 [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Vancouver_system&oldid=611487411

    20. Wikipedia. Comparison_of_reference_management_software. Wikimedia Foundation; 2014 [cited 2014 Aug 10]; Available from: http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Comparison_of_reference_management_software&oldid=618727261

    21. Wikipedia. Citation [Internet]. Wikimedia Foundation; 2014 [cited 2014 Aug 11]. Available from: http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Citation&oldid=613339821

    22. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. วิธีเขียนอ้างอิงข้อมูลจาก Social media ตามรูปแบบ APA & MLA [Internet]. 2014 Jul. Available from: http://www.gotoknow.org/posts/572190

    23. จิราภรณ์ จันทร์จร. Vancouver style. 2554 Jan 5; 

    24. อดุลย์เดช ไศลบาท. รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม. :1–14. 

    25. อัญชลี กล่ำเพ็ชร, จุฑารัตน์ ปานผดุง. การอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรมในเอกสารทางวิชาการ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2553;21(3):144 – 156. 


    กิตติกรรมประกาศ


    บทความนี้ได้แรงกระตุ้น มาจากบทความใน Gotoknow  ที่ชื่อว่า วิธีเขียนอ้างอิงข้อมูลจาก Social media ตามรูปแบบ APA & MLA {จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. วิธีเขียนอ้างอิงข้อมูลจาก Social media ตามรูปแบบ APA & MLA [Internet]. GotoKnow. 2014 [cited 2014 Jul 14]. Available from: http://www.gotoknow.org/posts/572190}



    วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2557

    การรักษาความลับและการแสดงการไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย


    นักกำกับดูแลจำเป็นต้องยึดถือในการรักษาความลับและการแสดงไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้เป็นเสมือนหัวใจของการทำงานทุกครั้ง

    ในสังคมของการกำกับดูแลนั้น มีมาตรฐานหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นพิ้นฐานของการทำงาน คือ การรักษาความลับและการแสดงความไม่มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นกลางในการกำกับดูแล และเป็นหลักประกันของการเป็นอิสระในการทำงานที่ปราศจากอคติ ทั้งปวง และยังทำให้เกิดความเชื่อใจจากผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนเกี่ยวข้องว่าข้อมูลที่ให้แก่หน่วยงานที่กำกับดูแลนั้น จะไม่รั่วไหลไปเพื่อประโยชน์อื่นใด ดังนั้นจึงถือว่าเป็นกฏเหล็กเลยที่เดียว ที่นักกำกับดูแลจำเป็นต้องยึดถือในการรักษาความลับและการแสดงไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้เป็นเสมือนหัวใจของการทำงานทุกครั้ง
    การแสดงความไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นหลักสำคัญที่มุ่งหมายให้การกำกับดูแลปราศจากอคติทั้งมวล  เป็นหลักประกันของความเป็นกลาง ทำให้ทราบและพิจารณาความเป็นกลางของผู้ให้ความเห็นได้อย่างชัดเจน การแสดงความไม่มีส่วนได้ส่วนเสียนี้ จำเป็นต้องแสดงส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
    ในทางทฤษฎีโดยทั่วไปแล้วผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกำกับดูแลควรเป็นผู้ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสิ้นเชิงไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่อย่างไรก็ตามในการกำกับดูแลบางสาขาหรือบางผลิตภัณฑ์ ที่มีความจำกัดในบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ หรือจำเป็นที่ต้องใช้องค์ความรู้ที่ถือเป็นนวัตกรรมที่ก้าวหน้ามาก จะพบอุปสรรคของการสรรหาผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยสิ้นเชิงทั้งทางตรงและะทางอ้อม ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมากสำหรับการกำกับดูแลในสาขาดังกล่าว ในการบริหารจัดการการไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกำกับดูแลจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ส่วนการมีส่วนได้ส่วนเสียทางอ้อมนั้นอาจจำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายกรณี ขึ้นอยู่กับองค์คณะหรือขั้นตอนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล ซึ่งการมีส่วนได้ส่วนเสียทางอ้อมนี้ย่อมจะลดทอน คุณค่าของความเห็นทางวิชาการลงไปมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับบริบท ณ เวลา นั้น ๆ
    การมีส่วนได้เสียทางตรง  ได้แก่ การที่ผู้นั้นเป็นผู้ที่ได้รับผล (ทั้งผลบวก และผลลบ) โดยตรงจากการกำหนดมาตรการหรือการพิจารณาในเรื่องนั้น ๆ การที่ได้รับผลโดยตรงนี้ หมายความรวมถึง ผลที่ได้รับในฐานะผู้บริหาร เจ้าของ หุ้นส่วน และที่ปรึกษา ในนิติบุคคล ที่เกี่ยวข้อง และรวมถึงการเป็นผุ้แข่งขันในตลาดกันอีกด้วย ด้วยเช่นกัน และสำหรับการกำกับดูแลการศึกษาวิจัย การมีส่วนได้ส่วนเสียทางตรง ควรหมายความรวมถึงการที่ผู้นั้นเป็นผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยโดยเป็นผู้วิจัยหลัก/ผู้วิจัยร่วม/ผู้สนับสนุนทุนและเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรฐานหรือพิจารณาที่มีผลอนุมัติ/อนญาต การศึกษาวิจัยดังกล่าว

    การมีส่วนได้ส่วนเสียทางอ้อม  ได้แก่ ผลที่เกิดขึ้นจากการกำหนดมาตรการหรือการพิจารณา ไม่ได้เกิดกับบุคคลนั้น โดยตรง แต่ ผลเหล่านั้นอาจเกิดกับญาติ บุคคลในครอบครัว หรือคนสนิทใกล้ชิด ก็ได้ และอย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่ามีความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับหารกำกับดูแลการมีส่วนได้ส่วนเสียทางอ้อม คือ ลำดับชั้นของญาติ หรือ ความสนิทใกล้ชิด ในระดับใดที่เข้าข่ายที่ต้องแจ้งการมีส่วนได่ส่วนเสีย แต่อย่างน้อย ญาติลำดับชั้นแรก คือ พ่อ แม่ คู่สมรส บุตร พี่น้องโดยสายเลือด และสำหรับการกำกับดูแลการศึกษาวิจัย การมีส่วนได้ส่วนเสียทางอ้อม ควรหมายความรวมถึงการที่ผู้นั้นเป็นผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยโดยเป็นผู้วิจัยหลัก/ผู้วิจัยร่วม/ผู้สนับสนุนทุน และเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรฐานหรือพิจารณาที่มีผลอนุมัติ/อนญาต อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยโดยตรง

    การรักษาความลับ เป็นมาตรการที่ทำให้เกิดความเชื่อใจกันระหว่างผู้กำกับดูแลและผู้ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล เพราะว่าในห่วงโซ่ของการกำกับดูแล จะมีการพิจารณาและสื่อสารข้อมูลหลายประการที่กระทบต่อชื่อเสียงและการทำธุรกิจของผู้ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล การที่ผู้กำกับดูแลจะเปิดเผยข้อมูลใด ๆ แก่ผู้อื่น จะต้องเป็นไปโดยข้อกำหนดที่ประกาศหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนและเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ 

    สำหรับนักศึกษาฝึกงาน
    ดังนั้นในการฝึกงาน นักศึกษาจึงควรเรียนรู้หลักการของการรักษาความลับและการแสดงความไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
    โดยนักศึกษาโปรดศึกษาและทำความเข้าใจ เอกสารการแสดงส่วนได้ส่วนเสีย และการรักษาความลับ ตามไฟล์ที่แนบ
    ทั้งนี้ ก่อนเข้าฝึกงาน จะมีขั้นตอนให้ นักศึกษาลงนามในเอกสารดังกล่าว
    HV99-0000-000 Confidentiality Statement.docx

    การใช้คำนำหน้านาม

      ที่ประชุม ค.บ.ม.มหาวิทยาลัย  ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2550  เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2550  มีมติเกี่ยวกับการใช้คำนำหน้านาม  ดังนี้                1การใช้ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (เช่น  รายงานการประชุม  หนังสือภายในต่างๆ)  ให้ใช้คำนำหน้านามเรียงตามลำดับ ดังนี้
                        (1)  ตำแหน่งทางวิชาการ  ได้แก่  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ , รองศาสตราจารย์,  ศาสตราจารย์ 
                        (2)  ยศ  ได้แก่  ร.ต.อ., พล.อ.
                        (3)  วุฒิการศึกษา  ถ้าจบปริญญาเอก  ก็ใช้  ดร.                    (4)  ตำแหน่งทางวิชาชีพ  ได้แก่   นายแพทย์, ทันตแพทย์
                        (5)  ฐานันดรศักดิ์   ได้แก่  ม.จ., ม.ร.ว., ม.ล.  เป็นต้น               
                  
                     2การใช้ภายนอกมหาวิทยาลัย  เช่น  คำสั่งต่างๆ                    2.1 กรณีติดต่อเป็นทางการ ให้ใช้คำนำหน้านามเรียงตามระเบียบงานสารบรรณ  ดังนี้                                (1)  ตำแหน่งทางวิชาการ                                (2)  ยศ                                (3)  ฐานันดรศักดิ์                    2.2 กรณีติดต่อในวงวิชาชีพเดียวกันหรือไม่เป็นทางการ  การใช้คำนำหน้านาม   ให้ใช้ได้ตามความเหมาะสม                 สำหรับการทำหนังสือไปยังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอทำหนังสือเดินทาง หรือทำวีซ่า    ให้ใช้คำนำหน้านามเฉพาะ นาย นาง นางสาว

    http://share.psu.ac.th/blog/psupersonnel/3278


    http://www.engtest.net/Webboard/board.php?forum_id=15&&topic_id=150