วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ระบบและรูปแบบการเขียนอ้างอิงในเอกสารทางวิชาการ

การอ้างอิงที่ดี คือ อ้างอิงให้ครบถ้วนและถูกต้องทั้งในเนื้อหาและท้ายเล่ม อ้างอิงในรูปแบบการเขียนเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร และ ไม่อ้างอิงในเอกสารที่ไม่เคยได้อ่านหรือไม่ได้ค้นคว้า

ในการเขียนเอกสารทางวิชาการนั้น ย่อมจะต้องมีการศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่ง ๆ ต่าง ๆ มากมายหลายแหล่ง และเมื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาประกอบการเขียนเอกสารทางวิชาการของตน ผู้เขียนก็จะต้องให้ความเคารพ ไม่กล่าวถึงแหล่งข้อมูล หรือกระทำการที่มีลักษณะเป็นการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) ดังนั้นผู้เขียนจึงต้องมีการอ้างอิงข้อมูลที่นำมาประกอบการเขียนงานของตน โดยจะต้องอ้างอิงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้งานเขียนของตนเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ

    ระบบการอ้างอิง


ระบบการอ้างอิงในเอกสารวิชาการต่าง ๆ นั้นจะมีความแตกต่างหลายรูปแบบ แต่หากกล่าวสรุปรูปแบบตามลักษณะสำคัญ จะสามารถจำแนกได้ออกเป็น 2 กลุ่มสำคัญ คือ


1  กลุ่มระบบ Parenthetical referencing  โดยมีลักษณะการอ้างอิงดังนี้


(1.1) การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง  (In-text citations) การอ้างอิงลักษณะนี้เป็นการอ้างอิงเข้าไปในเนื้อหา เพื่อบ่งบอกให้ทราบว่า ข้อความนั้นหรือเนื้อหาส่วนนั้น ได้มาจากการอ้างอิงหรือมีการกล่าวถึงในเอกสารหรือแหล่งที่มาใด โดยระบุข้อมูลอย่างย่อของเอกสารที่อ้างเข้าไปในเนื้อหา ในระดับบรรทัดเดียวกันกับข้อความ โดยนิยมใช้วงเล็บกลม (round brackets) 

(1.2) การอ้างอิงส่วนท้าย (Reference citations)  การอ้างอิงส่วนท้ายเป็นการรวมรวมและแสดงรายละเอียดของรายการเอกสารที่อ้างอิงไปแล้วในเนื้อเรื่องจะรวมรวมไว้ใน ซึ่งอาจอยู่ท้ายหน้า ท้ายบท หรือ ท้ายเล่ม ก็ได้และจะเรียงลำดับตามชื่อผู้แต่งและหากมีผู้แต่งคนเดียวกันมากกว่า 1 เล่มก็จะเรียงลำดับตาม ปีที่พิมพ์เผยแพร่ และบางกรณีการอ้างอิงส่วนท้าย ยังแสดงรายการเอกสารทางวิชาการที่น่าสนใจหรือเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน แต่ไม่ได้อ้างอิงในเนื้อหาโดยตรงด้วยก็ได้ ทำให้การอ้างอิงส่วนท้าย อาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ (ก) รายการเอกสารอ้างอิง (References)   (ข) รายการบรรณานุกรม (Bibliography) แต่อย่างไรก็ตามในบางสถาบัน หรือบางเอกสารวิชาการ อาจระบุไม่แยกเป็นบรรณานุกรมและเอกสารอ้างอิงก็ได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบกับเจ้าของวารสารก่อนการเขียน
       
กลุ่มระบบ Parenthetical referencing นี้มีรูปแบบ (style) การเขียนที่หลากหลาย ได้แก่  รูปแบบการเขียนของ APA , รูปแบบการเขียนของ MLA , รูปแบบการเขียนของ Chicaco , รูปแบบการเขียนของ Harvard  และ  รูปแบบการเขียนของ MHRA  เป็นต้น  จากลักษณะรูปแบบการเขียนนี้เองทำให้กลุ่มระบบ Parenthetical referencing  เป็นที่่รู้จักในชื่ออื่นเช่นการอ้างอิงแบบ Harvard referencing หรือ  Author-year system หรือ Author-date system เป็นต้น

2  กลุ่มระบบ Author-Number system  โดยมีลักษณะการอ้างอิงดังนี้


(2.1) การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง  (In-text citations) การอ้างอิงลักษณะนี้เป็นการอ้างอิงเข้าไปในเนื้อหา เพื่อบ่งบอกให้ทราบว่า ข้อความนั้นหรือเนื้อหาส่วนนั้น ได้มาจากการอ้างอิงหรือมีการกล่าวถึงในเอกสารหรือแหล่งที่มาใด โดยนิยมระบุตัวเลขเป็นอักษรตัวยก โดยอาจอยู่ในวงเล็บหรือไม่ก็ได้ แต่หากเป็นการระบุในบรรทัดระดับเดียวกันกับข้อความที่อ้าง ให้ระบุไว้ในวงเล็บ โดยวงเล็บที่ใช้ อาจใช้เป็นวงเล็บกลม (round brackets) , วงเล็บเหลี่ยม [square brackets] หรือ วงเล็บปีกกา {curl่y brackets} ก็ได้ ทั้งนี้ควรคำนึงว่าการใช้วงเล็บไม่ควรทำให้เกิดความสับสนให้แก่ผู้อ่านบทความนั้น 

(2.2) การอ้างอิงส่วนท้าย (Reference citations)  การอ้างอิงส่วนท้ายเป็นการรวมรวมและแสดงรายละเอียดของรายการเอกสารที่อ้างอิงไปแล้วในเนื้อเรื่องจะรวมรวมไว้ใน ซึ่งอาจอยู่ท้ายหน้า ท้ายบท หรือ ท้ายเล่ม ก็ได้และจะเรียงลำดับตัวเลขของการอ้างอิง และบางกรณีการอ้างอิงส่วนท้าย อาจจำแนกออกเป็นรายการเอกสารอ้างอิง (References)  และ รายการบรรณานุกรม (Bibliography) ก็ได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบกับเจ้าของวารสารก่อนการเขียน

ทั้งนี้กลุ่มระบบ Author-Number system  นี้อาจจำแนกตามลักษณะการอ้างอิงออกเป็น

ก    ระบบอ้างอิงแบบตัวเลข -ลำดับการอ้าง  (citation-sequence system) โดย ตัวเลขที่ใช้จะหมายถึง ลำดับที่ของการอ้างครั้งแรกของแหล่งข้อมูลนั้น โดยตัวเลขดังกล่าวจะอ้างอิงรายละเอียดไปยังรายการเอกสารอ้างอิงส่วนท้าย และ

ข    ระบบอ้างอิงแบบตัวเลข-นาม (citation-name system) โดย ตัวเลขจะใช้แทน ลำดับที่ของรายการเอกสารอ้างอิงส่วนท้าย ที่เรียงตามลำดับรายชื่อของผู้แต่ง

กลุ่มระบบ Author-Number system นี้มีรูปแบบ (style) การเขียนที่หลากหลายด้วยเช่นกัน ได้แก่  รูปแบบการเขียนของ Vancouver , รูปแบบการเขียนของ NLM และ รูปแบบการเขียนของ ACS เป็นต้น

   

รูปแบบการเขียนอ้างอิง


จากระบบการเขียนที่แตกต่างนั้น เกิดขึ้นมาจากการใช้วิธีการอ้างอิงที่แตกต่างกันตามการยอมรับของสาขาวิชาการ โดยรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่พบได้บ่อยได้รวบรวมไว้ในภาคผนวก 1 นอกจากรูปแบบการเขียนที่รวบรวมไว้แล้วนั้นยังมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงอื่น ๆ อีกมากมายที่หน่วยงานหรือเจ้าของวารสารกำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่นการเขียนอ้างอิงสำหรับเอกสารวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็แตกต่างจากของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบกับหน่วยงานหรือเจ้าของวารสารเสียก่อนว่าใช้วิธีการเขียนอ้างอิงในรูปแบบใด ซึ่งเมื่อจำแนกรูปแบบการอ้างอิงตามสาขาวิชาการ จะจำแนกได้ดังนี้

สาขาวิชามนุษยศาสตร์ (Humanities)   รูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมได้แก่  
                   
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ CMOS (The Chicago Manual of Style) ซึ่งมีรูปแบบย่อยที่พัฒนาได้แก่ รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ Turabian 
                     
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ MLA (Modern Language Association) ซึงเป็นการเขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่องโดยใช้วิธี author-page method
                     
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ MHRA (Modern Humanities Research Association) ซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนที่นิยมในประเทศอังกฤษ มีลักษณะคล้าย แบบ MLA  แต่จะแสดงรายละเอียดเอกสารในส่วนท้ายหน้า
   
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตุได้ว่าในสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์นิยมใช้การอ้างอิงในส่วนท้าย เป็นแบบท้ายหน้า

สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (Social sciences)  รูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมได้แก่
                
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ APA (American Psychological Association) ซึงเป็นการเขียนอ้างอิงในเนื้อเรื่องโดยใช้วิธี author-year method ซึ่งมีรูปแบบย่อยที่พัฒนาได้แก่ รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ ASA (American Sociological Association) ซึ่งนิยมใช้การอ้า'อิงส่วนท้ายเป็นแบบท้ายหน้าคล้ายแบบ MLA
             
นอกจากนี้ยังมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่พัฒนาไปจาก รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ CMOS ที่พบการใช้บ้างได้แก่ รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ APSA (American Political Science Association) และแบบ AAA (American Anthropological Association)

สาขาวิชากฎหมาย (Law)     รูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมได้แก่
                  
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ Bluebook  เป็นรูปแบบการเขียนที่นิยมใช้ในศาลยุติธรรมและคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกา
                    
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ OSCOLA (Oxford Standard for Citation of Legal Authorities) เป็นรูปแบบการเขียนที่นิยมในสหราชอาณาจักร  

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์, คณฺิตศาสตร์ , วิศวกรรมศาสสตร์ , สรีรวิทยา และการแพทย์ (Sciences, mathematics, engineering, physiology, and medicine)    รูปแบบการเขียนอ้างอิงที่นิยมได้แก่
              
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ ACS (American Chemical Society) 
               
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ AIP (American Institute of Physics 
               
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ AMS (American Mathematical Society)
               
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)
               
รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ Vancouver ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในวารสารทางการแพทย์ ปัจจุบันมีรูปแบบย่อยที่ได้พัฒนาจากรูปแบบ  Vancouver หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น
                  - NLM Style  (National library of Medicine) or Pubmed Style
                  - AMA Style (American Medical Association)
                  - NISO Style (the National Information Standards Organization)
                  - ASME Style (American Society of Mechanical Engineers)

ตัวอย่างรูปแบบการเขียนอ้างอิงที่น่าสนใจ


จากข้อมูลข้างต้นจึงเห็นได้ว่ารูปแบบการเขียนอ้างอิงมีมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งอาจมีรูปแบบหลักที่เหมือนกัน แต่อาจแตกต่างที่การใช้เครื่องหมายวรรคตอน อักษรตัวหนา ตัวเอียง เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เห็นลักษณะการเขียนอ้างอิงที่แตกต่างกัน จึงขอยกตัวอย่างรูปแบบการเขียนที่น่าสนใจดังนี้

    รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ APA 


    ระบบนี้จัดทำโดย American Psychological Association (http://www.apastyle.org) นิยมใช้ในวงวิชาการด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ (Social and Behavioral Science) และรวมถึงสาขาวิชาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ จิตวิทยาการศึกษาอีกด้วย นอกจากนั้นระบบนี้ยังมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่าระบบนาม-ปี (name-year or author-date system) ซึ่งตัวอย่างวิธีการเขียนอ้างอิงนั้นสามารถศึกษาได้จาก รายละเอียดวิธีการเขียนอ้างอิงแบบ APA

    รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ MLA


    ระบบนี้จัดทำโดย Modern Language Association  (http://www.mla.org) นิยมใช้ในวงการภาษาศาสตร์ และหน่วยงานภาคการศึกษา  ซึ่งตัวอย่างวิธีการเขียนอ้างอิงสามารถศึกษาได้จาก รายละเอียดวิธีการเขียนอ้างอิงแบบ MLA และ  รายละเอียดเพิ่มเติม (แบบ MLA)

    รูปแบบการเขียนอ้างอิงแบบ NLM


    ระบบนี้เกิดขึ้นเนื่องจากความหลากหลายของรูปแบบการอ้างอิงในเอกสารทางการแพทย์ ทำให้เกิดความยากลำบากในการตรวจสอบเอกสารและความถูกต้องทางวิชาการ จึงทำให้มีการรวมกลุ่มของของวารสารทางการแพทย์และจัดตั้งเป็นคณะกรรมการระดับนานาชาติชื่อ “International Committee of Medical Journal Editors : ICMJE” และจัดการประชุมเพื่อกำหนดรูปแบบการอ้างอิงที่เป็นมาตรฐานเดียวกันขึ้น ในปี 1978 ที่นครแวนคูเวอร์ รัฐบริทิช โคลัมเบีย ประเทศคานาดา ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเขียนเอกสารอ้างอิง ซึ่งเรียกว่า “The Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals” หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Vancouver Style หลังจากนั้นก็มีการประชุมเพื่อปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ต่อมา ์National Library of Medicine ได้นำมาใช้สำหรับการอ้างอิงใน Medline และ Pubmed  ซึ่งตัวอย่างธีการเขียนอ้างอิงสามารถศึกษาได้จาก รายละเอียดวิธีการเขียนอ้างอิงแบบ NLM


    สรุป


    จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่ารูปแบบการเขียนอ้างอิงนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ดังนั้นในฐานะนักวิชาการจึงจำเป็นต้องเลือกวิธีการเขียนที่เหมาะสมที่สุด รูปแบบการเขียนแบบหนึ่งที่วารสารหรือหน่วยงานหนึ่งยอมรับ อาจไม่ใช่วิธีการเขียนที่หน่วยงานอื่นยอมรับก็เป็นไปได้ แต่อย่างไรก็ตามคุณภาพงานเขียนวิชาการ ก็ย่อมพิจารณาได้จากการวิธีการเขียนอ้างอิงได้อีกประการหนึ่ง โดยการเขียนอ้างอิงที่ดีจะมีลักษณะดังนี้
                            1. มีการอ้างอิงครบถ้วนและถูกต้องทั้งในเนื้อหาและส่วนท้าย 
                            2. รูปแบบการเขียนอ้างอิงเป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเอกสาร
                            3. ไม่อ้างอิงในเอกสารที่ไม่เคยได้อ่านหรือไม่ได้ค้นคว้า


    เอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม


    1. Anglia Ruskin University. Harward system [Internet]. 2013 [cited 2014 Aug 10]. p. 4. Available from: http://libweb.anglia.ac.uk/referencing/files/QuickHarvardGuide2013Aug.pdf

    2. Bedford SM. Documenting sources : a Hacker handbooks supplement. [Internet]. Boston: Bedford/St. Martin’s; 2008 [cited 2014 Jul 14]. Available from: http://www.dianahacker.com/resdoc/pdf/Hacker-MLAupdates.pdf

    3. Cieplinski L, Kim M, Ohm J-R, Pickering M, Yamada A. ISO 690 : Information and documentation- Guideline for bibliographic references and citations to information resources. 2001 p. 48. 

    4. Faculty of Law University of Oxford. OSCOLA. 4th ed. 2012. 

    5. Garfield E. Citation indexes for science. A new dimension in documentation through association of ideas. Int J Epidemiol [Internet]. 2006 Oct 1 [cited 2014 Jul 29];35(5):1123–7; discussion 1127–8. Available from: http://ije.oxfordjournals.org/content/35/5/1123

    6. ICMJE. Recommendations for the Conduct, Reporting, Editing, and Publication of Scholarly Work in Medical Journals. 2013. 

    7. ICMJE. International Committee of Medical Journal Editors (ICMJE) Uniform Requirements for Manuscripts Submitted to Biomedical Journals: Sample References [Internet]. United States National Library of Medicine; [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/bsd/uniform_requirements.html

    8. Iverson C, Christiansen S, Flanagin A, et al, Iverson C CS. AMA Manual of Style. New York City: Oxford University Press; 2007. 

    9. Iverson C, Christiansen S, Flanagin A, et al, Iverson C CS. About the AMA Manual of Style [Internet]. Oxford University Press; 2010 [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://www.amamanualofstyle.com/page/About/about

    10. James Madison University Libraries. AMA style [Internet]. 2012 [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://www.lib.jmu.edu/citation/amaguide.pdf

    11. Libraries of University of Victoria. MLA Style Guide. 2012 p. 1–7. 

    12. Library of the University of Sydney. YOUR GUIDE TO HARVARD STYLE REFERENCING. 2010 p. 15. 

    13. MRHA. MHRA [Internet]. [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://www.mhra.org.uk/Publications/Books/StyleGuide/StyleGuideV3_1.pdf

    14. National Information Standards Organization. ANS/NISO Z39.29-2005 : Bibliographic References. 2005. 

    15. Patrias K. Citing Medicine: The NLM Style Guide for Authors, Editors, and Publishers [Internet]. 2nd ed. Wendling D, editor. Bethesda, Maryland, USA: United States National Library of Medicine; 2007 [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://www.nlm.nih.gov/citingmedicine

    16. University of Chicago. Law (Maroon Book) [Internet]. [cited 2014 Aug 11]. Available from: http://lawreview.uchicago.edu/sites/lawreview.uchicago.edu/files/uploads/v82MB.pdf

    17. University of Western Sydney Library. American Psychological Association ( APA ) Referencing Style Guide. 2013 p. 15. 

    18. University of Western Sydney Library. Chicago Referencing Style Guide. 2013 p. 11. 

    19. Wikipedia. Vancouver_system [Internet]. Wikimedia Foundation; 2014 [cited 2014 Aug 10]. Available from: http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Vancouver_system&oldid=611487411

    20. Wikipedia. Comparison_of_reference_management_software. Wikimedia Foundation; 2014 [cited 2014 Aug 10]; Available from: http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Comparison_of_reference_management_software&oldid=618727261

    21. Wikipedia. Citation [Internet]. Wikimedia Foundation; 2014 [cited 2014 Aug 11]. Available from: http://en.wikipedia.org/w/index.php?title=Citation&oldid=613339821

    22. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. วิธีเขียนอ้างอิงข้อมูลจาก Social media ตามรูปแบบ APA & MLA [Internet]. 2014 Jul. Available from: http://www.gotoknow.org/posts/572190

    23. จิราภรณ์ จันทร์จร. Vancouver style. 2554 Jan 5; 

    24. อดุลย์เดช ไศลบาท. รูปแบบการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม. :1–14. 

    25. อัญชลี กล่ำเพ็ชร, จุฑารัตน์ ปานผดุง. การอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรมในเอกสารทางวิชาการ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2553;21(3):144 – 156. 


    กิตติกรรมประกาศ


    บทความนี้ได้แรงกระตุ้น มาจากบทความใน Gotoknow  ที่ชื่อว่า วิธีเขียนอ้างอิงข้อมูลจาก Social media ตามรูปแบบ APA & MLA {จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. วิธีเขียนอ้างอิงข้อมูลจาก Social media ตามรูปแบบ APA & MLA [Internet]. GotoKnow. 2014 [cited 2014 Jul 14]. Available from: http://www.gotoknow.org/posts/572190}






    3 ความคิดเห็น:

    ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

    เรื่องน่าสนใจ น่าเสียดายบทความนี้ผู้แต่งดันเขียนไม่ค่อยรู้เรื่องทั้ง ๆ ไทยคำอังกฤษคำ ทั้ง ๆ ที่มันมีประโยชน์แก่คนที่ทำรายงานโครงงานปริญญาตรี วิทยานิพนธ์ปริญญาโทและเอก ผู้แต่งยังมีปัญหาเรื่องการสะกดคำ โดยเฉพาะคำว่า “สังเกต” ไม่ใช่ “สังเกตุ”

    Jarurote กล่าวว่า...

    น่าสนใจว่าเรื่องนี้เหมาะสำหรับคนทำรายงานวิชาการระดับ ป.ตรี โท เอก แต่เสียดายที่เนื้อหาที่เขียนบันทึกลงไปอ่านไม่ค่อยรู้เรื่องนัก ดูเหมือนไม่ผ่านการอ่านพิสูจน์ ยังใช้ไทยคำอังกฤษคำสลับกันไปมาจนรู้สึกเวียนหัว แถมยังสะกดผิดอีก เช่น “สังเกตุ” คำที่ถูกต้องคือ “สังเกต” ไม่มีสระอุ อีกทั้งไม่มีคำอธิบายถึงสาเหตุที่มีมาตรฐานการอ้างอิงเยอะแยะแบบนี้ ซึ่งมันขาดหายไปหน่อย ความเห็นผมดูจุกจิกนะครับ

    Joke Krit Lim กล่าวว่า...

    ขอบคุณครับ จะรับไปปรับปรุงนะครับ